Folk Wisdom

ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญา หรือ Wisdom หมายถึง พื้นฐานความรู้ความสามารถ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรม ความสามารถในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมที่ได้มีการพัฒนาสืบสานกันมา อันเป็นผลของการใช้สติปัญญาปรับตัวให้เข้ากับสภาพต่าง ๆ ในพื้นที่ที่กลุ่มชนเหล่านั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับกลุ่มอื่น


ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น

...

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2541)

คนไทยได้สร้างชาติ สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของบ้านเมือง มีการดำรงชีวิตด้วยความสุขร่มเย็นอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะได้ใช้ภูมิปัญญาของตนมาตลอด ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

        - ช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง

        - สร้างความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรีเกียรติภูมิแก่คนไทย

        - สามารถปรับ ประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนาใช้กับชีวิตได้อย่างเหมาะสม

        - สร้างความสมดุลระหว่างคนกับสังคมและธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน

        - ช่วยเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิถีชีวิตของคนไทยให้เหมาะสมได้ตามยุค

...

ประกอบ ใจมั่น (2539)

ได้กล่าวถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ดังนี้ คือ

        - ช่วยให้สมาชิกในชุมชน หมู่บ้านดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

        - ช่วยสร้างความสมดุลระหว่างคนกับธรรมชาติแวดล้อม

        - ช่วยให้ผู้คนดำรงตนและปรับเปลี่ยนทันต่อความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบอันเกิดจากสังคมภายนอก

...

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2536 : 3)

ได้แบ่งความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ 4 ประการ คือ

            1. ความรู้และระบบความรู้ ภูมิปัญญาไม่ใช่สิ่งที่เกิดแวบขึ้นมาในหัว แต่เป็นระบบความรู้ที่ชาวบ้าน มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เป็นระบบความรู้ที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ฉะนั้นในการศึกษาเข้าไปดูว่าชาวบ้าน “รู้อะไร” อย่างเดียวไม่พอต้องศึกษาด้วยว่าเขาเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างไร

             2. การสั่งสมและการกระจายความรู้ ภูมิปัญญาเกิดจากการสั่งสม และกระจาย ความรู้ ความรู้นั้น ไม่ได้ลอยอยู่เฉย ๆ แต่ถูกนำมาบริการคนอื่น เช่น หมอพื้นบ้าน ชุมชน สั่งสมความรู้ทางการแพทย์ไว้ในตัวคน ๆ หนึ่ง โดยมีกระบวนการที่ทำให้เขาสั่งสมความรู้ เราควรศึกษาด้วยว่ากระบวนการนี้เป็นอย่างไร หมอคนหนึ่งสามารถสร้างหมอคนอื่นต่อมาได้อย่างไร

             3. การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านไม่ได้มีสถาบันถ่ายทอดความรู้แต่มีกระบวนการถ่ายทอดที่ ซับซ้อน ถ้าเราต้องการเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่น เราต้องเข้าใจกระบวนการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งด้วย

             4. การสร้างสรรค์และปรับปรุง ระบบความรู้ของชาวบ้านไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่แต่ถูกปรับเปลี่ยน ตลอดมา โดยอาศัยประสบการณ์ของชาวบ้านเอง เรายังขาดการศึกษาว่าชาวบ้านปรับเปลี่ยนความรู้ และระบบความรู้เพื่อเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไร

products
products
products
products
products
products
products

ลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น

             ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเรื่องราวการสืบทอดประสบการณ์จากอดีตถึงปัจจุบันที่มีลักษณะของความสัมพันธ์ภายในท้องถิ่น  ที่มีความหลากหลายทางภูมิปัญญาแต่ไม่แตกต่างกันมากนัก  ซึ่งมีหลายท่านได้กล่าวถึงลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้  ดังนี้

สัญญา  สัญญาวิวัฒน์

กล่าวว่า 

ลักษณะของภูมิปัญญาคือ

         ภูมิปัญญา  เป็นความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดๆ หรือหน่วยสังคมใดๆเป็นข้อมูล  เป็นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ  เช่น  ความรู้เกี่ยวกับครอบครัว  ความรู้เกี่ยวกับมนุษย์  เกี่ยวกับผู้หญิง  ผู้ชาย  ประเภทครอบครัวของสังคมนั้น    

         ภูมิปัญญา  เป็นความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องใดๆของสังคมนั้น  มีความเชื่อแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ยืนยันว่าถูกต้อง  เช่น  เรื่องนรก  สวรรค์  ตาแล้วไปไหน   ภูมิปัญญา  คือ  ความสามารถหรือแนวทางในการแก้ปัญหา  หรือป้องกันปัญหาเกี่ยวกับหน่วยสังคมหนึ่งสังคมใด  ตัวอย่างครอบครัว  เช่น  ความสามารถในกรป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในครอบครัวภูมิปัญญาทางวัตถุ  ในหน่วยสังคมใดๆ ตัวอย่าง เช่น  เรือนชานบ้านช่อง  เครื่องใช้ไม่สอยต่างๆในครอบครัว  ทำให้ครอบครัวมีความสะอาด  สะดวก  สบายตามสภาพ เป็นต้น  ภูมิปัญญาด้านพฤติกรรมในหน่วยสังคมใดๆ  ตัวอย่างครอบครัว  เช่นการกระทำความประพฤติ  การปฏิบัติตัวของคนต่างๆในครอบครัวจนทำให้ครอบครัวสามารถดำรงอยู่ได้ก็นับเป็นภูมิปัญญาเช่นเดียวกัน

 เสรี  พงศ์พิศ 

กล่าวว่า

ภูมิปัญญามี 2 ลักษณะ คือ

           มีลักษณะเป็นนามธรรม  เป็นโลกทัศน์  ชีวทัศน์  เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเกิด  แก่  เจ็บตาย  คุณค่าและความหมายของทุกสิ่งในชีวิตประจำวันมีลักษณะเป็นรูปธรรม  เกี่ยวกับเรื่องเฉพาะด้านต่างๆเช่น  การทำมาหากิน   การเกษตร  หัตถกรรม  ศิลปะ  ดนตรี  และอื่นๆ

       ภูมิปัญญาเหล่านี้สะท้อนออกมาใน 3 ลักษณะ ทีสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  คือ  ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับโลก  สิ่งแวดล้อม  สัตว์  พืช  ธรรมชาติ  ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆที่อยู่ร่วมกันในสังคมหรือชุมชน  ความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ  สิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ทั้งหลาย  ทั้ง 3  ลักษณะนี้ คือ  สามมิติของเรื่องเดียวกัน  คือ  ชีวิตของชาวบ้าน  สะท้อนออกมาถึงภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตอย่างเอกภาพ  เหมือนมุมของสมเหลี่ยม  ภูมิปัญญาจึงเป็นรากฐานในการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 

ให้ความหมายว่า

ภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ

         เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้  ทักษะ  ความเชื่อ  และพฤติกรรม แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง  คนกับคน  คนกับธรรมชาติแวดล้อม  และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ 

         ลักษณะภูมิปัญญาที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  จะแสดงออกมาในลักษณะภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐาน  ด้านปัจจัยสี่ 
การบริหารจัดการองค์กร  ตลอดทั้งการประกอบอาชีพต่างๆ เป็นต้น  

        ภูมิปัญญาที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนอื่นในสังคม  จะแสดงออกมาในลักษณะจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี  ศิลปะแลนันทนาการ  ภาษาและวรรณกรรม  ตลอดทั้งการสื่อสารต่างๆเป็นต้น  เป็นองค์รวม  หรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต  เป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ  การปรับตัว  การเรียนรู้  เพื่อความอยู่รอดของบุคคล  ชุมชนและสังคม  เป็นแกนหลัก  หรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต  เป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา มีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง

ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2541) ได้แบ่งสาขาหรือประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ 11 สาขาดังนี้

1
สาขาเกษตรกรรม

ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และ เทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม สามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่าง ๆได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญหาการเกษตร

2
สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิต เพื่อชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรมอันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจัดจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มโรงสี กลุ่มหัตถกรรม เป็นต้น

3
สาขาการแพทย์แผนไทย

ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้

4
สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งอนุรักษ์ การพัฒนา และใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

5
สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน

ความสามารถในด้านบริหารจัดการค้าการสะสมและบริการกองทุนและธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์เพื่อเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน

6
สาขาสวัสดิการ

ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม

7
สาขาศิลปกรรม

ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ เป็นต้น

8
สาขาการจัดการองค์กร

ความสามารถในการบริหารการจัดการดำเนินงานด้านต่างๆทั้งขององค์กรชุมชน องค์กรทางสังคมอื่นๆ ในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้านระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน เป็นต้น กรณีของการจัดการศึกษาเรียนรู้ นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาสาขาการจัดการที่มีความสำคัญ เพราะการจัดการศึกษาเรียนรู้ดี หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาไทยที่มี

9
สาขาภาษาและวรรณกรรม

ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษา ทั้ง ภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท

10
สาขาศาสนาและประเพณี

ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ ประเพณี บุญประทายข้าว เป็นต้น

11
สาขาการศึกษา


ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ดจำแนกตามอำเภอ

กราฟแสดงข้อมูลผู้เชี่ยวชาญจำแนกตามอำเภอและเพศ

อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
จำนวน 96 คน
Generate Report
อำเภอเกษตรวิสัย
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอปทุมรัตต์
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอจตุรพักตรพิมาน
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอธวัชบุรี
จำนวน 5 คน
Generate Report
อำเภอพนมไพร
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอโพนทอง
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอโพธิ์ชัย
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอหนองพอก
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอเสลภูมิ
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอสุวรรณภูมิ
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอเมืองสรวง
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอโพนทราย
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภออาจสามารถ
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอเมยวดี
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอศรีสมเด็จ
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอจังหาร
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอเชียงขวัญ
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอหนองฮี
จำนวน 0 คน
Generate Report
อำเภอทุ่งเขาหลวง
จำนวน 0 คน
Generate Report

ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ดจำแนกตามประเภท

กราฟแสดงข้อมูลผู้เชี่ยวชาญจำแนกตามประเภทและเพศ

สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
จำนวน 15 คน
Generate Report
สาขาการแพทย์แผนไทย
จำนวน 14 คน
Generate Report
สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จำนวน 1 คน
Generate Report
สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน
จำนวน 16 คน
Generate Report
สาขาสวัสดิการ
จำนวน 0 คน
Generate Report
สาขาศิลปกรรม
จำนวน 11 คน
Generate Report
เกษตรกรรม
จำนวน 16 คน
Generate Report
สาขาการจัดการองค์กร
จำนวน 2 คน
Generate Report
สาขาภาษาและวรรณกรรม
จำนวน 4 คน
Generate Report
สาขาศาสนาและประเพณี
จำนวน 22 คน
Generate Report
สาขาการศึกษา
จำนวน 0 คน
Generate Report
ติดต่อเรา

043-516715

wisdom.edu@email.com

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรร อบจ.ร้อยเอ็ด ศูนย์แสดงสินนค้าพื้นเมือง ถ.เปรมประชาราษฎร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000

All rights Reserved © กองการศึกษาฯ อบจ.ร้อยเอ็ด, 2022

Made with   by ThemeWagon